วันอาทิตย์ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

กิจกรรมที่ 12


ระหว่างวันที่ 17-23 มกราคม 2554 หลักสูตรสังคมศึกษาได้จัดทัศนศึกษาภาคเหนือ จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย แพร่ น่าน สุโขทัย พระนครศรีอยุธยา กรุงเทพมหานคร ซึ่งกิจกรรมนี้ถือว่าเป็นการบูรณาการจัดการเรียนการสอน โดยใช้กิจกรรมทัศนศึกษาเป็นแหล่งเรียนรู้  ให้นักศึกษาเล่าบรรยากาศ การเดินทาง สิ่งที่พบและเกิดองค์ความรู้ใหม่ ลงในบล็อกของนักศึกษาและนำเสนอ    ผลงานของนักศึกษาเป็นรายบุคคล เป็นโปรแกรม Slide.com หรือโปรแกรมนำเสนออื่น ๆ ให้นำมาใส่ลงบล็อกของนักศึกษา  และสำหรับนักศึกษาที่ไม่ได้ไปทัศนศึกษาให้นำเสนอว่าในช่วงเวลาดังกล่าว นักศึกษาทำกิจกรรมอะไร ได้องค์ความรู้อะไร สรุปเขียนลงในบล็อก และนำเสนอผลงานที่นักศึกษาได้ทำ ทำเป็น Slide.com หรือโปรแกรมนำเสนออื่น ๆ ลงในบล็อกของนักศึกษาเช่นกัน      

สรุปงานนักศึกษาจะมี 2 ชิ้น คือ
      
          1) สรุปเล่าเหตุการณ์การเดินทางและองค์ความรู้ที่พบลงในบล็อกของนักศึกษา
                2) นำเสนอรูปภาพมีคำบรรยายประกอบรูปภาพ ลงในโปรแกรม Slide.com หรือโปรแกรมอื่น ๆ
ในกิจกรรมนี้ถือว่าเป็นการศึกษานอกสถานที่ นักเรียนต้องออกแบบเก็บข้อมูลให้ละเอียดมากที่สุด


                                                    เหตุการณ์การเดินทาง
                องค์ความรู้ที่ได้รับจากการไปภาคสนามในภาคกลางและภาคเหนือของประเทศไทย (ระยะเวลา1สัปดาห์)

                จากการไปภาคสนามหรือทัศนศึกษาในครั้งนี้เป็นการภาคสนามถึง1สัปดาห์ด้วยกัน แต่ละสถานที่ ที่ได้ไปนั้นทำให้ได้รับความรู้ต่างๆมากมายเกี่ยวกับสาระการเรียนรู้ทางด้านสังคมศึกษา ไม่ว่าจะเป็นในรายวิชาภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ มานุษยวิทยา ประชากรศึกษาเป็นต้น
                วันแรกของการภาคสนามได้ไปศึกษาที่พระราชวังสนามจันทร์ ณ อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐมเป็นพระราชวังที่ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นบนบริเวณที่คาดว่าเป็นพระราชวังเก่าของกษัตริย์สมัยโบราณที่เรียกว่า เนินปราสาท ภายในประกอบไปด้วยสิ่งก่อสร้างต่างๆมากมายไม่ว่าจะเป็นพระที่นั่งพิมานปฐม  พระที่นั่งอภิรมย์ฤดี  พระที่นั่งวัชรีรมยา  พระที่นั่งสามัคคีมุขมาตย์  พระตำหนักชาลีมงคลอาสน์   พระตำหนักมารีราชรัตบัลลังก์  พระตำหนักทับแก้ว   พระตำหนักทับขวัญ   เทวาลัยคเณศร์  เรือนพระยานนทิการ  เรือนพระธเนศวร  เรือนทับเจริญ  อนุสาวรีย์ย่าเหล่
                วันที่2 เดินทางไปสถานที่โบราณสถานสมัยอยุธยา ณ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ประกอบไปด้วย 3 สถานที่ด้วยกัน สถานที่แรกคือวัดใหญ่ชัยมงคล   วัดใหญ่ชัยมงคล เดิมชื่อวัดป่าแก้ว หรือ วัดเจ้าไท ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของเกาะพระนคร ปัจจุบันเป็นพื้นที่ตำบลคลองสวนพลู อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จุดเด่นของวัดได้แก่เจดีย์องค์ใหญ่ที่เชื่อกันว่า ได้รับการปฏิสังขรณ์ขึ้นใหม่ในสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ที่ภายในได้มีการค้นพบชัยมงคลคาถาบรรจุอยู่ ภายในพระอุโบสถ เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธชัยมงคล พระประธานที่เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ของวัด นอกจากนี้แล้ว ภายในวัดยังเป็นที่ประดิษฐานศาลสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ที่ก่อสร้างแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2544 อีกด้วย
                 สถานที่ 2 คือวัดหน้าพระเมรุ วัดหน้าพระเมรุ หรือ วัดพระเมรุราชิการาม ตั้งอยู่ริมคลองสระบัวด้านทิศเหนือของคูเมือง (เดิมเป็นแม่น้ำลพบุรี) ตรงข้ามกับพระราชวังหลวง สร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น พุทธศักราช 2046 มีชื่อเดิมว่า "วัดพระเมรุราชิการาม" ที่ตั้งของวัดนี้เดิมคงเป็นสถานที่สำหรับสร้างพระเมรุถวายพระเพลิงพระบรมศพของพระมหากษัตริย์พระองค์ใดพระองค์หนึ่งสมัยอยุธยาตอนต้นต่อมาจึงได้สร้างวัดขึ้น มีตำนานเล่าว่าพระองค์อินทร์ในรัชกาลสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 ทรงสร้างวัดนี้เมื่อ พ.ศ. 2046 วัดนี้มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ สมเด็จพระมหาจักรพรรดิเมื่อครั้งทำศึกกับพระเจ้าบุเรงนองได้มีการทำสัญญาสงบศึกเมื่อ พ.ศ. 2106 ได้สร้างพลับพลาที่ประทับขึ้นระหว่างวัดหน้าพระเมรุกับวัดหัสดาวาสวัดนี้เป็นวัดเดียวในกรุงศรีอยุธยาที่ไม่ได้ถูกพม่าทำลายเนื่องจากเป็นที่ตั้งของกองทัพพม่าและยังคงปรากฏสถาปัตยกรรมแบบอยุธยาอยู่ในสภาพสมบูรณ์มากที่สุดในจังหวัดพระนครศรีอยุธยาอีกอย่างหนึ่งวัดหน้าพระเมรุก็เป็นวัดเดียวที่พระพุทธรูปนั้นใส่เครื่องทรงกษัตริย์ 
                สถานที่3 คือ วัดไชยวัฒนาราม วัดไชยวัฒนาราม ได้สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2173 โดยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง พระองค์ทรงโปรดเกล้าฯให้สร้างขึ้นบนที่ที่เป็นบ้านเดิมของพระองค์เพื่ออุทิศพระราชกุศลถวายพระราชมารดา แต่ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงสันนิษฐานว่าวัดนี้สร้างขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์แห่งชัยชนะเหนือนครละแวกโดยจำลองแบบมาจากปราสาทนครวัด ภายในนั้นประดิษฐานด้วยสถาปัตยกรรมต่างๆโดยฐานภายใน
วัดไชยวัฒนาราม มีปรางค์ประธานและปรางค์มุมอยู่บนฐานเดียวกัน พระปรางค์ประธานนำรูปแบบของพระปรางค์สมัยอยุธยาตอนต้นมาก่อสร้าง แต่ปรางค์ประธานที่วัดไชยวัฒนารามทำมุขทิศยื่นออกมามากกว่า บนยอดองค์พระปรางค์ใหญ่อาจเคยประดิษฐานพระเจดีย์ขนาดเล็ก สื่อถึงพระเจดีย์จุฬามณีบนยอดเขาพระสุเมรุ รอบพระปรางค์ใหญ่ล้อมรอบไปด้วยระเบียงคตที่เดิมนั้นมีหลังคา ภายในระเบียงคตประดิษฐานพระพุทธรูปปูนปั้นปางมารวิชัยที่เคยลงรักปิดทองจำนวน 120 องค์ เป็นเสมือนกำแพงเขตศักดิ์สิทธิ์  ส่วนพระอุโบสถนั้นสร้างอยู่ทางด้านหน้ากำแพงเมรุทิศเมรุราย นอกระเบียงคต ปัจจุบันเหลือแต่ฐาน ข้างๆมีเจดีย์ย่อมุมไม้สิบสอง มีกำแพงล้อมรอบโบราณสถานสำคัญแหล่านี้ถึง 3 ชั้น และ มีปรางค์เจดีย์ขนาดย่อมอีกจำนวนหนึ่งซึ่งสร้างเพื่อในภายหลัง
                วันที่3 เดินทางไปสถานที่ 3สถานที่ด้วยกัน สถานที่แรกคืออุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย
ในอดีตเมืองสุโขทัยเคยเป็นราชธานีของไทยมีความเจริญรุ่งเรือง เป็นศูนย์กลางการปกครอง ศาสนา และเศรษฐกิจ ภายในอุทยานฯ มีสถานที่สำคัญที่เป็นพระราชวัง ศาสนสถาน โบราณสถาน โดยมีคูเมือง กำแพงเมือง และประตูเมืองโบราณล้อมรอบอยู่ในรูปสี่เหลี่ยมจตุรัส บริเวณพื้นที่อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัยครอบคลุมพื้นที่กว่า 70 ตารางกิโลเมตร และมีโบราณสถานสำคัญที่น่าชมมากมายเนื่องจากอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัยครอบคลุมพื้นที่กว่า 70 ตารางกิโลเมตรจึงไม่เหมาะกับการเดินเที่ยวชมเพราะฉะนั้นในการไปครั้งนี้จึงใช้รถลากในการชมจึงในข้อมุลที่ค่อนข้างน้อยบวกกับเวลาที่สั้นแต่ก็ถือว่าได้ข้อมูลมาพอสมควร
                สถานที่2 คือสถานที่ท่องเที่ยววนอุทยานแพะเมืองผี ณ จังหวัดแพร่ แพะเมืองผี เป็นพื้นที่เนินเขาซึ่งสูงกว่าส่วนอื่น เกิดจากการพังทลายโดยการกัดเซาะตามธรรมชาติ โดยกระแสน้ำเป็นเวลานาน ทำให้พื้นที่บางส่วนเป็นที่สูงต่ำสลับกันไป หน้าผาและเสาดินมีรูปทรงแตกต่างกัน ก่อให้เกิดความสวยงามมากยิ่งขึ้น
                ส่วนสถานที่3 คือวัดพระธาตุช่อแฮ พระอารามหลวง  พระธาตุช่อแฮ อยู่ที่ตำบลช่อแฮ ห่างจากตัวเมืองแพร่ไปตามถนนช่อแฮ ประมาณ 9กิโลเมตร (เส้นทางหลวงหมายเลข 1022) เป็นปูชนียสถานอันศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองแพร่ ตามตำนานกล่าวว่าสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 1879 - 1881 ในสมัยพระมหาธรรมราชาธิราช (ลิไท) โดยขุนลัวะอ้ายก๊อม พระธาตุช่อแฮเป็นเจดีย์ที่ประดิษฐานพระเกศาธาตุ และพระบรมสารีริกธาตุพระศอกซ้ายของพระพุทธเจ้า เป็นเจดีย์ทรงแปดเหลี่ยม ย่อมุมไม้สิบสอง ศิลปะเชียงแสน สูง 33 เมตร ฐานสี่เหลี่ยมกว้างด้านละ 11 เมตร สร้างด้วยอิฐโบกปูนหุ้มด้วยแผ่นทองเหลืองลงรักปิดทอง   สำหรับชื่อพระธาตุช่อแฮนั้น บ้างว่าได้มาจากชื่อผ้าแพรชั้นดีซึ่งทอจากสิบสองปันนา และชาวบ้านนำมาผูกบูชาพระธาตุ บ้างก็ว่ามาจากผ้าแพรที่ขุนลัวะอ้ายก๊อมนำมาถวาย ทุกปีจะมีงานนมัสการพระธาตุในวันขึ้น 9 ค่ำ - ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 4 (ประมาณเดือนมีนาคม) ของทุกปี

                วันที่ 4เดินทางไปยัง 4สถานที่ด้วยกัน สถานที่แรกคือ วัดร่องขุ่น  ณ จังหวัดเชียงราย วัดร่องขุ่น (Wat Rong Khun) ออกแบบและก่อสร้างโดยอาจารย์เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ ซึ่งปรารถนาจะสร้างวัดให้เหมือนเมืองสวรรค์ที่มนุษย์สัมผัสได้ เริ่มสร้างตั้งแต่ พ.ศ. 2540 จากเดิมมีเนื้อที่ 3 ไร่ ได้ซื้อที่ดินเพิ่มและมีผู้บริจาคคือคุณวันชัย วิชญชาคร จนปัจจุบันมีเนื้อที่ 9 ไร่ และมีพระกิตติพงษ์ กัลยาโณ รักษาการเจ้าอาวาสองค์ปัจจุบัน
  สถานที่ 2ได้แก่สามเหลี่ยมทองคำ อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย สบรวก - สามเหลี่ยมทองคำ ตรงจุดบรรจบของลำน้ำรวกและแม่น้ำโขง ซึ่งเป็นบริเวณที่แม่น้ำรวกจากพม่าไหลลงสู่แม่น้ำโขง ก่อนแม่น้ำทั้งสองจะบรรจบกัน ลำน้ำได้ขนาบแผ่นดินของประเทศพม่าให้แคบลงๆ จนกลายเป็นแหลมเล็กๆ บริเวณนี้จึงเป็นจุดที่แผ่นดินของสามประเทศมาพบกัน คือ ไทย พม่า และลาว เรียกชื่อกันว่าสบรวก เป็นจุดที่มีทัศนียภาพที่สวยงาม มีอากาศดีเพราะเป็นที่โล่งกว้างสามารถมองเห็นแม่น้ำโขงและแม่น้ำรวก ซึ่งมีสีแตกต่างกันอย่างชัดเจน
                แนวตะเข็บชายแดนรอยต่อสามประเทศ คือ ไทย พม่า ลาว มีภูมิประเทศเป็นเทือกเขาสลับซับซ้อน ในอดีตมีชนกลุ่มน้อย และกองกำลังติดอาวุธอาศัยอยู่หลายกลุ่ม พื้นที่แถบนี้เป็นที่รับรู้อย่างกว้างขวางว่าเป็นแหล่งปลูกฝิ่น และผลิตยาเสพติดแหล่งใหญ่ มีโรงงานผลิตเฮโรอีนกระจายอยู่ตามตะเข็บชายแดน การลำเลียงฝิ่นใช้คาราวานลัดเลาะไปตามไหล่เขา มีกองกำลังคุ้มกัน ราคาซื้อขายยาเสพติดว่ากันว่าแลกเปลี่ยนด้วยทองคำ ในน้ำหนักที่เท่ากัน  ยางข้นเหนียวของฝิ่นดิบจึงถูกเรียกว่า ทองดำ ส่วนพื้นที่แถบนี้ก็ถูกขนานนามว่า "สามเหลี่ยมทองคำ" เมื่อตำนานสามเหลี่ยมทองคำปิดฉากลง จากการที่รัฐบาลไทยทำการปราบปรามอย่างจริงจัง มีการผลักดันกองกำลังติดอาวุธออกจากพื้นที่ สามเหลี่ยมทองคำในปัจจุบันจึงเหลือเพียงความสวยงามที่เชื้อเชิญนักท่องเที่ยวจากทุกมุมโลกให้มาเที่ยวชม
                สถานที่ 3คือหอฝิ่นอุทยานสามเหลี่ยมทองคำ พิพิธภัณฑ์บ้านฝิ่น ห่างจากอำเภอเชียงแสน กิโลเมตร เป็นสถานที่จัดแสดงถึงเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ของฝิ่นในสามเหลี่ยมทองคำ ต้นกำเนิดฝิ่น สงครามฝิ่น ผู้นำฝิ่นเข้ามาในเอเชีย ผลกระทบของฝิ่น การยุติการดำรงชีวิตที่ต้องพึ่งพิงกับการปลูกฝิ่นและเสพฝิ่น การฟื้นฟูสภาพชีวิตประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณใจกลางสามเหลี่ยมทองคำของประเทศไทย เป็นการแสดงนิทรรศการพร้อมสัมผัสกับเรื่องราวต่างๆของฝิ่นแบบคล้ายจริง
                สถานที่ 4วัดพระมหาชินธาตุเจ้า (ดอยตุง) หรือเรียกโดยทั่วไปว่า วัดพระธาตุดอยตุง ตั้งอยู่บริเวณส่วนที่เรียกว่าหน้าอกของดอยนางนอน ตำบลห้วยไคร้ อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย ซึ่งเป็นถิ่นที่อยู่ของชาวเขา ซึ่งดอยตุงมีระยะทางห่างจากอำเภอเมืองเชียงรายประมาณ 46 กม. และมีพระธาตุดอยตุงประดิษฐานอยู่บนยอดดอย สามารถมองเห็นได้ในระยะไกลเนื่องจากพระธาตุดอยตุง ตั้งอยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเลประมาณสองพันเมตร
                สถานที่ 5 สวนแม่ฟ้าหลวงและพระตำหนักดอยตุง
                วันที่ 5ของการภาคสนามก็ได้เดินทางไปยัง3 สถานที่ด้วยกัน สถานที่แรกคือวัดพระธาตุดอยสุเทพราชวรวิหาร เป็นพระอารามหลวง ชั้นโท ชนิดราชวรวิหาร ตั้งอยู่บนยอด ดอยสุเทพ เป็นหนึ่งในวัดของจังหวัดเชียงใหม่ที่มีความสำคัญมากที่สุด ในวัดมีเจดีย์ทรงเชียงแสน ฐานสูงย่อมุมระฆังทรงแปดเหลี่ยมปิดด้วยทองจังโก 2 ชั้น ลานเจดีย์เป็นจุดชมทิวทัศน์เมืองเชียงใหม่ ทางขึ้นเป็นบันไดนาคเจ็ดเศียรก่อปูน
                สถานที่ 2ได้แก่ พระตำหนักภูพิง
     พระตำหนักภูพิงคราชนิเวศน์ เป็นพระตำหนักประทับแปรพระราชฐานของพระบาทสมเด็จพระ เจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้า สิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระตำหนักนี้สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2503 ตั้งอยู่บนดอยสุเทพ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ ตั้งอยู่บน กิโลเมตรที่19 ห่างจากวัดพระธาตุดอยสุเทพประมาณ 4 กิโลเมตร

พระตำหนักภูพิงคราชนิเวศน์เปิดให้ประชาชนเข้าชมทุกวันไม่เว้นวันหยุด ราชการ ยกเว้นเมื่อมีการเสด็จพระราชดำเนินแปรพระราชฐานมาประทับแรมในช่วงเดือน มกราคม-มีนาคม

และสถานที่ 3 ดอยปุย
เป็นหมู่บ้านชาวเขาเผ่าม้ง (แม้ว) ดอยปุย บริเวณรอบๆ หมู่บ้านมีทิวทัศน์ที่สวยงามอย่างยิ่งและยังสามารถมองเห็นดอยอินทนนท์เบื้อง หน้าได้อย่างชัดเจนอีกด้วย นักท่องเที่ยวสามารถไปเยี่ยมชมได้สะดวกเพราะอยู่ใกล้ตัวเมือง โดยใช้เวลาในการเดินทางจากตัวเมืองประมาณ 1ชั่วโมงเท่านั้น ภายในหมู่บ้านมีร้านขายของที่ระลึกซึ่งมีทั้งผลิตภายในหมู่บ้านและนำมาจาก ที่อื่นวางขายให้แก่นักท่องเที่ยวด้วย การเดินทาง หมู่บ้านนี้ตั้งอยู่บนดอยปุย ห่างจากพระตำหนักฯกิโลเมตร เป็นทางลาดยางตลอด สามารถเข้าไปเที่ยวด้วยตนเองได้ หรือจะเช่ารถสองแถวจากดอยสุเทพขึ้นไปได้ทุกฤดูกาล

วันที่ 6 ไปดอยอินทนนท์
อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ มีพื้นที่ครอบคลุมอยู่ในท้องที่อำเภอดอยหล่อ อำเภอจอมทองและอำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ ประกอบไปด้วยภูเขาสูงสลับซับซ้อน มีดอยอินทนนท์ซึ่งเป็นยอดเขาที่สูงที่สุดในประเทศไทยสภาพป่าเป็นต้นน้ำลำธารของแม่น้ำหลายสาย และเป็นส่วนหนึ่งของต้นน้ำปิงที่ให้พลังงานไฟฟ้าที่เขื่อนภูมิพล มีเอกลักษณ์ทางธรรมชาติที่สวยงาม เช่น น้ำตกต่างๆ โดยเฉพาะน้ำตกแม่ยะ ที่ได้ชื่อว่าสวยที่สุดของประเทศอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์มีเนื้อที่ประมาณ 482.4 ตารางกิโลเมตร หรือ 301,500 ไร่สภาพภูมิประเทศทั่วไปประกอบด้วยภูเขาสลับซับซ้อน มีดอยอินทนนท์เป็นยอดเขาที่สูงที่สุด สูงจาก ระดับน้ำทะเล 2,565 เมตร ยอดเขาที่มีระดับสูงรองลงมาคือ ดอยหัวมดหลวง สูงจากระดับน้ำทะเล 2,330 เมตร ป่าอินทนนท์นี้เป็นแหล่งกำเนิดของต้นน้ำแม่กลาง แม่ป่าก่อ แม่ปอน แม่หอย แม่ยะ แม่แจ่ม แม่ขาน และเป็นส่วนหนึ่งของต้นน้ำแม่ปิงที่ให้พลังงานไฟฟ้าที่เขื่อนภูมิพล\
วันที่ ไปถึง 4สถานที่ ได้แก่ วัดพระแก้วหรือวัดพระศรีรัตนศาสดาราม
วัดพระศรีรัตนศาสดารามหรือที่เรียกกันทั่วไปว่า วัดพระแก้ว เป็นวัดที่ พระบาท สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นใน พ.ศ. 2325 เป็นวัดในพระบรมมหาราชวัง เช่นเดียวกับ วัดพระศรีสรรเพชญ์ ซึ่งเป็นวัดในพระราชวังหลวงในสมัยอยุธยา และมีพระราชประสงค์ให้วัดพระศรีรัตนศาสดารามเป็นที่ประดิษฐาน พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร หรือพระแก้วมรกต ที่นำมาจากกรุงเวียงจันทร์ แต่แท้ที่จริงแล้ว พบเจอวัดพระแก้วจังหวัดเชียงราย และเป็นสถานที่ทรงบำเพ็ญพระราชกุศล วัดพระศรีรัตนศาสดารามเป็นวัดที่ไม่มีพระสงฆ์จำพรรษาอยู่ เพราะมีแต่ส่วนพุทธาวาสไม่มีส่วนสังฆาวาส
สถานที่ มิวเซียมสยาม
มิวเซียมสยาม หรือ พิพิธภัณฑ์การเรียนรู้ เป็นพิพิธภัณฑ์ตั้งอยู่บนถนนสนามไชย กรุงเทพมหานคร เปิดให้บริการเมื่อ 2 เมษายน พ.ศ. 2551 เป็นพิพิธภัณฑ์ที่ใช้เทคนิคการเล่าเรื่องแบบโต้ตอบโดยใช้ตัวละคร 7 ตัวเป็นตัวกลาง มิวเซียมสยามดูแลโดยสถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้ แห่งชาติ
มิวเซียมสยาม พิพิธภัณฑ์การเรียนรู้นี้ ถือเป็นแหล่งการเรียนรู้หนึ่งที่เน้นจุดมุ่งหมายในการแสดงตัวตนของชนในชาติ ซึ่งจะทำให้ผู้เข้าชม โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้เข้าชมที่อยู่ในวัยเด็กและเยาวชน ได้เรียนรู้รากเหง้าของชาวไทย โดยเน้นไปที่กลุ่มชนในเขตเมืองบางกอก หรือที่เรียกในปัจจุบันว่า กรุงเทพมหานคร เป็นสำคัญ เนื่องจากตัวมิวเซียมสยามแห่งนี้ได้ตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร แต่มิได้หมายความว่าถ้าเป็นคนไทยต่างจังหวัด จะไม่สามารถมาเรียนรู้จากพิพิธภัณฑ์นี้ได้ ด้วยเพราะสิ่งที่จัดแสดงในมิวเซียมสยามนี้ แสดงถึงความเป็นมาของชนชาติไทย ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน ผ่านการนำเสนอด้วยสื่อผสมหลายรูปแบบ ทำให้มีความน่าสนใจ และดึงดูดใจผู้เข้าชมได้เป็นอย่างยิ่ง ทั้งยังตั้งอยู่ในสถานที่สวยงาม
สถานที่สุดท้ายในการไปโครงการนี้คือตลาดเพลินวาน
ตลาดเพลินวานเป็นตลาดย้อนยุคมี่สิ่งของที่มีอยู่ในอดีต ทำให้นึกถึงสมัยโบราณได้เป็นอย่างดี มีของที่ระลึก ภาพวิวทิวทัศน์ของตลาดสวยงาม
การไปโครงการทัศนศึกษาภาคเหนือ จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย แพร่ น่าน สุโขทัย พระนครศรีอยุธยา กรุงเทพมหานคร ทำให้ได้เรียนรู้ถึงการดำเนินชีวิตของคนแต่ละจังหวัด ลักษณะภูมิประเทศที่ส่งผลต่อการเรียนรู้วิชาสังคมได้เป็นอย่างดี และดิฉันหวังว่าคงมีโครงการที่ดีอย่างนี้อีกในโอกาสต่อไป

  

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น